Tag Archives: จาริกแสวงบุญ

To the Heart of Kham – Derge Sutra Printing House

IMG_4672

 

The highlight of our pilgrimage is at Derge, a Khampa town which has historical significance.

การเดินทาง 8 วัน 7 คืน (28 กค – 4 สค 56) เป็นช่วงเวลาสั้นๆ แต่เต็มอิ่มด้วยประสบการณ์ เราเดินทางผ่านเมือง สายน้ำ ข้ามเขานับพันกิโลจนถึงนครแห่งนี้ซึ่งมีชื่อว่า “เดรเก” อยู่ในหุบเขาที่มีความสูง 3220 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล

IMG_4679

นี่คืออดีตอาณาจักรยิ่งใหญ่ สำหรับชาวทิเบต การเดินทางมาเดรเกมีความสำคัญเพราะที่นี่เทียบเท่ากับหัวใจของแคว้นคามที่เต็มไปด้วยศิลปะ สถาปัตยกรรม และความศักดิ์สิทธิ์ของโรงพิมพ์พระไตรปิฎก

เราถึงเดรเกในเวลาค่ำคืนหลังผจญภัยและรอลุ้นเรื่องถนนขาด เช้าวันรุ่งขึ้น เราพบกันตอนสายๆ ทุกคนดูสดชื่นขึ้นแต่ยังไม่รู้ว่าวันนี้จะได้พบอะไร แต่ได้ข่าวดีว่าเราจะค้างที่เดรเกอีกคืน หลังอาหารเช้า เราเดินไปโรงพิมพ์พระไตรปิฎกกัน ภาพของโรงพิมพ์ที่เป็นอาคารโบราณสีแดงยังตระหง่านในความทรงจำ ความเหน็ดเหนื่อยดูมลายไปหมดเมื่อเห็นผู้คนแต่งกายด้วยชุดท้องถิ่นเดินเวียนเทียนรอบโรงพิมพ์

 

IMG_4708

ช่วงเช้าเราสักการะวิหารซึ่งมีองค์พระประธานเป็นพระพุทธเจ้าศรีศากยมุนี และวิหารพระธรรมบาล ตอนกลางวันเดินไปเยือนวัดใหญ่เดรเก (เดรเก กอนเช็น) ที่งดงามตามประเพณีของนิกายสาเกียปะ ตอนบ่ายกลับมาโรงพิมพ์เพื่อชมวิธีการพิมพ์คัมภีร์โบราณ ซึ่งไม่ใช่งานแต่คือการภาวนาอันเปี่ยมศรัทธา

 

IMG_4683

ก่อนจากโรงพิมพ์ เราสักการะวิหารตาราบนดาดฟ้า และรูปเคารพของพระองค์ซึ่งเชื่อว่าปรากฏขึ้นเอง เจ้านครเดรเก ท่านธรรมราชาเต็มปา เซริง มีศรัทธาในพระองค์อย่างมาก ครั้งหนึ่งเกิดไฟใหม้ในโรงพิมพ์ พระแม่ตาราตรัสบอกพระผู้ดูแล อีกครั้งหนึ่งทรงบอกเจ้านครว่า โรงพิมพ์แห่งนี้ไม่ต้อนรับโจรขโมย แต่ต้อนรับทุกชีวิตที่มีศรัทธาไม่ว่าหญิงหรือชาย หลังจากนั้น โรงพิมพ์จึงได้กลายเป็นสถานภาวนาของทุกคนที่ปรารถนาจะปฏิบัติธรรม ก่อนหน้านั้นมีเพียงพระภิกษุและอุบาสกเท่านั้นที่จะได้สักการะโรงพิมพ์

IMG_4692

 

โรงพิมพ์แห่งนี้สร้างในปีค.ศ. 1729 ได้พิมพ์คัมภีร์พระไตรปืฎกและอรรถกถาของทุกนิกาย ได้แก่ ยุงตรุงเพิน (พุทธเพิน) ญิงมาปะ กาจูร์ปะ สาเกียปะ เกลุกปะ รวมทั้งโจนังปะ มาอย่างต่อเนื่องถึงปัจจุบัน

Pilgrimage at Mt. Bonri

When we understand the meaning of life, when our mind is full of faith and trust in the Triple Gems, we want to make best use of this body for the benefits of ourselves and others. This June (Tibetan Saka Dawa) a story of mind’s transformation originates at this sacred mountain – Kongbo Bonri.

เมื่อเข้าใจความหมายของชีวิต เมื่อจิตเปี่ยมไปด้วยศรัทธา กายนี้ก็ขอใช้เพื่อประโยชน์ที่ดีที่สุดทั้งของตนเองและผู้อื่น ในเดือนมิถุนายน (วิสาขบูชาทิเบต) เรื่องราวการเดินทางแห่งจิตใจได้เริ่มต้นขึ้นที่ภูเขาลูกนี้…กงโบ้ เพินรี

I pay homage to Buddha Tonpa Shenrab and all the enlightened ones.

Link for pictures from the pilgrimage:

http://www.facebook.com/media/set/?set=a.184037818317793.60532.100001347273588

Pilgrimage and Faith

ศรัทธานำพาชีวิต Pilgrimage that is drawn by faith (May 2007)

ལུས་གུས་པའི་སྒོ་ནས་ཕྱག་འཚལ་ལོ།། སེམས་དངས་བའི་སྒོ་ནས་ཡིད་ཀྱིས་སྐྱབས་སུ་མཆི།

With body I prostrate to the Triple Gems; with steady mind I take refuge in them.

 

จาริกแสวงบุญ กับการเดินทางของจิตใจ

The foundation is organizing a conference and seminar (in Thai) on “Pilgrimage and Journey of the Mind” at Chulalongkorn University, Bangkok on July 17, 2010. The talks will cover various spiritual traditions and sacred places in Europe and Asia, including Mt. Kailash. Please contact 1000tara@gmail.com for detail.

การประชุมและเสวนาเรื่อง

“การจาริกแสวงบุญ กับการเดินทางของจิตใจ”

วันเสาร์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
ห้อง 105 อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จัดโดย มูลนิธิพันดารา ร่วมกับ ศูนย์จริยธรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

หลักการและเหตุผล
การเคลื่อนไหวกับการเดินทางเป็นอย่างหนึ่งที่มนุษย์ทุกคนใฝ่ฝันจะทำ มนุษย์อยากจะสำรวจโลกของตัวเองทันทีที่เริ่มเคลื่อนไหวร่างกายได้ เรามีความปรารถนาอยู่เสมอที่จะไปยังที่นั่นที่นี่ เพื่อรู้ว่าที่เหล่านั้นเป็นอย่างไร และดีกว่าที่ที่เราอยู่ในปัจจุบันอย่างไร เด็กทารกมีความสุขกับการใช้เสรีภาพที่เกิดขึ้นจากการรู้จักการใช้มือและเท้าคลานไปมา หลังจากที่ก่อนหน้านั้นต้องเอาแต่นอนอยู่เฉยๆอย่างเดียว การเคลื่อนที่ได้นี้เป็นการเปิดโลกใหม่ของเด็ก ทำให้รู้ว่าโลกนั้นกว้างใหญ่และมีสิ่งต่างๆที่น่าตื่นเต้นรอการค้นพบอยู่มากมาย

เมื่อเราเติบโตขึ้นความปรารถนาที่จะเดินทางไปยังที่ต่างๆก็ยิ่งกว้างไกลมากขึ้น การเดินทางของเรามีทั้งที่จำเป็น เช่นการไปทำงาน และที่เป็นเรื่องของการพักผ่อนหย่อนใจ เช่นการท่องเที่ยวไปตามที่ต่างๆ เป้าหมายของการเดินทางของคนในโลกสมัยใหม่ดูเหมือนว่าจะมีเพียงสองประการนี้เท่านั้น ดังจะเห็นได้จากคำถามที่กองตรวจคนเข้าเมืองบางประเทศถามแก่คนที่เดินทางเข้ายังประเทศของตน ว่าจะเดินทางมาด้วยเหตุผลทางธุรกิจ หรือเพื่อความเพลิดเพลิน

อย่างไรก็ตาม มิติที่สำคัญยิ่งอีกประการหนึ่งของการเดินทาง ได้แก่การเดินทางอันเนื่องจากจิตวิญญาณและศาสนา การเดินทางเช่นนี้เรียกว่า “การจาริกแสวงบุญ” (pilgrimage) เป็นการเดินทางเพื่อสั่งสมบุญบารมี หรือเพื่อปฏิบัติกิจตามคำสอนของศาสนาต่างๆ การเดินทางเช่นนี้นับว่าต่างจากการเดินทางเกี่ยวกับการงาน หรือการเดินทางเพียงเพื่อพักผ่อนหย่อนใจเท่านั้น ที่น่าสนใจก็คือว่าศาสนาต่างๆล้วนแล้วแต่มีเรื่องการเดินทางเป็นส่วนหนึ่งของคำสอนของศาสนาด้วยกันทั้งสิ้น
ในพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าทรงแนะนำว่าวิธีการหนึ่งในการปฏิบัติตนของชาวพุทธ คือการเดินทางไปยังสังเวชนียสถานต่างๆ ได้แก่สถานที่ประสูติ ตรัสรู้ ตรัสธรรมเทศนาครั้งแรก และสถานที่ปรินิพพานของพระองค์ ทั้งนี้ด้วยเหตุผลที่ให้ชาวพุทธได้รำลึกถึงพระกรณียกิจต่างๆของพระพุทธเจ้า
ในศาสนาอิสลามก็มีคำสั่งสอนให้ชาวมุสลิมหาโอกาสเดินทางไปยังเมืองเมกกะในประเทศซาอุดิอาระเบียอย่างน้อยหนึ่งครั้งในชีวิต ทั้งนี้เพื่อปฏิบัติศาสนกิจให้สมบูรณ์ด้วยการเข้าไปอยู่ใกล้ชิดกับพระผู้เป็นเจ้า

ในทำนองเดียวกัน ชาวพุทธในวิถีเพินและวัชรยาน ฮินดู และเชนก็ล้วนใฝ่ฝันที่จะเดินทางไปเขาไกรลาศซึ่งเปรียบเป็นเขาพระสุเมรุบนโลกมนุษย์ การเดินทางไม่ว่าจะยากลำบากเพียงไรหล่อเลี้ยงจิตใจของพวกเขาและทำให้พวกเขาได้ใกล้ชิดกับความจริงสูงสุด

การเดินทางด้วยเหตุผลทางจิตวิญญาณและศาสนาเช่นนี้นับวันล้วนแต่จะสูญหายไปจากจิตสำนึกของคนสมัยใหม่ ซึ่งแม้คนสมัยใหม่จะเดินทางกันมากมายด้วยความสะดวกรวดเร็วมากกว่าคนสมัยก่อน แต่ก็ดูเหมือนว่าจะกำลังขาดออกจากมิติของการเดินทางเช่นนี้ ซึ่งไม่ใช่ทั้งการเดินทางเพื่อการงานอาชีพ และก็ไม่ใช่เพียงแค่ความเพลิดเพลินบันเทิงใจเท่านั้น ยิ่งไปกว่านั้น การเดินทางยังมีความหมายในเชิงเปรียบเทียบหมายถึง “การเดินทางของจิตใจ” อีกด้วย

เรามักจะเปรียบเทียบชีวิตว่าเหมือนกับการเดินทาง โดยวัยเด็กเป็นการเริ่มต้นเดินทาง วัยผู้ใหญ่เป็นช่วงเวลาที่กำลังเดินทาง และวัยชราเป็นการเข้าสู้จุดจบของการเดินทาง แต่คำสั่งสอนของศาสนาต่างๆมีตรงกันว่า การเดินทางของเรานั้นมิได้จบสิ้นแค่การตายหรือการแตกดับของร่างกายของเราในปัจจุบันนี้ แต่ยังมีการเดินทางหลังจากร่างกายแตกดับอีกด้วย ซึ่งมิติอันสำคัญยิ่งของชีวิตตรงนี้ เป็นสิ่งที่โลกสมัยใหม่รวมทั้งวิทยาศาสตร์มองข้ามไปอย่างสิ้นเชิง ทำให้น่าเสียดายอย่างยิ่ง

ด้วยเหตุนี้ คณะผู้จัดจึงได้จัดการประชุมและเสวนา “การจาริกแสวงบุญกับการเดินทางของจิตใจ” ขึ้น โดยมีนักวิชาการและผู้ปฏิบัติธรรมในศาสนาต่างๆมาร่วมกันเสนอความคิดเห็น เพื่อนำเอามิติทางความหมายและจิตวิญญาณของการเดินทางกลับมาสู่สังคม และเพื่อให้ผู้คนได้เห็นคุณธรรมและมิติทางจิตวิญญาณที่เกิดจากการจาริกแสวงบุญ อันได้แก่ ศรัทธาในศาสนา ความอ่อนน้อมถ่อมตน การดำรงอยู่อย่างปรองดองกับธรรมชาติ และคุณค่าของจิตใจ

วัตถุประสงค์
1. เพื่อฟื้นฟูจิตใจของผู้คนให้ได้แรงบันดาลใจจากการจาริกแสวงบุญ
2. เพืื่อนำมิติทางจิตวิญญาณของการเดินทางกลับมาสู่กระแสสำนึกของสังคม
เพื่ออนุรักษ์วิถีจาริกแสวงบุญในหลากหลายประเพณีและทำให้วิถีเหล่านี้ยังมีความหมายอยู่ในโลกปัจจุบัน
4. เพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกันระหว่างศาสนาต่างๆอันจะนำไปสู่สันติภาพและความปรองดอง

จำนวนผู้ร่วมประชุม
วิทยากร นักวิชาการ นักศึกษา และประชาชนทั่วไป จำนวนประมาณ 120 คน

รูปแบบการประชุม
บรรยาย 45 นาที พร้อมฉายสไลด์หรือภาพยนตร์แสดงเรื่องราวของสถานศักดิ์สิทธิ์ และเสวนากับผู้เข้าร่วมประชุม 15 นาที

อาหาร
ทางการประชุมจะมีอาหารว่างและเครื่องดื่มร้อน/เย็นบริการ ส่วนอาหารกลางวัน ผู้เข้าร่วมประชุมสามารถรับประทานได้ที่โรงอาหาร คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งอยู่ติดกับห้องประชุม

การลงทะเบียน
การประชุมนี้ไม่เก็บค่าลงทะเบียน แต่ขอให้ผู้สนใจลงทะเบียนล่วงหน้าที่
Email: 1000tara@gmail.com โทร. 0806100770 โทรสาร 025285308 ภายในวันที่ 5 กรกฎาคม 2553

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. สังคมได้รับการเยียวยาและฟื้นฟูจิตใจอันจะนำไปสู่ความเข้าใจซึ่งกันและกันและการดำรงอยู่ร่วมกันอย่างปรองดอง
ได้รับความรู้และเกิดการตื่นตัวเกี่ยวกับการจาริกแสวงบุญจากมุมมองของหลายศาสนา

กำหนดการประชุมและเสวนาเรื่อง “การจาริกแสวงบุญ กับ การเดินทางของจิตใจ”
วันเสาร์ที่ 17 กรกฎาคม 2553
8.45-9.15 น.     ลงทะเบียน
9.30-9.45 น.     พิธีเปิดโดยอาจารย์สุลักษณ์ ศิวรักษ์
9.45-10.00 น.     การเดินทางของพระศานติตารามหาสถูป ปีที่ 4
10.00-11.00 น.   “ตามรอยพระพุทธศาสนาในอินเดียและปากีสถาน”
พระอาจารย์ ดร. อนิล ศากยะ (ผู้ช่วยเลขานุการในสมเด็จ
พระสังฆราชสกลมหาปรินายก วัดบวรนิเวศวิหาร และ
มหามกุฏราชวิทยาลัย)
11.00-12.00 น.   “จาริกแสวงบุญจากมุมมองของคริสต์ศาสนา”
ผศ. ดร. วรยุทธ ศรีวรกุล (คณบดีบัณฑิตวิทยาลัยปรัชญาและศาสนา มหาวิทยาลัย             อัสสัมชัญ)
12.00-13.00 น.    พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00-14.00 น.   “การพาฆราวาสเดินธุดงค์”
พระถนอมสิงห์ สุโกสโล (วัดญาณเวศกวัน นครปฐม ประธานมูลนิธิหยดธรรม)
14.00-15.00 น.    “วิถีแห่งศรัทธากับการยาตราในศาสนาฮินดู”
อ. คมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง (ภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร)
15.00-15.30 น.    พักรับประทานอาหารว่าง
15.30-16.30 น.    “เมกกะ : การประกอบพิธีฮัจย์ของชาวมุสลิม”
ผศ. ดร. ปราณี ฬาพานิช (ผู้เดินทางไปเมกกะและผู้เชี่ยวชาญภาษาและวรรณกรรม
สันสกฤต)
16.30-17.30 น.    “จากกรุงเทพสู่ไกรลาศ : การเดินทางเพื่อเปลี่ยนจิตใจในทิเบต”
รศ.ดร. กฤษดาวรรณ หงศ์ลดารมภ์ (ผู้เชี่ยวชาญด้านทิเบต
และประธานมูลนิธิพันดารา)

Kailash Diary (2)

เรื่องราวของคนสามคนที่ชีวิตมาบรรจบพบกันโดยมีไกรลาศ พระสถูปธรรมชาติ ผูกพันหัวใจของพวกเขาไว้ด้วยกัน…ชายหนุ่มผู้ผิดหวังกับโลกสมัยใหม่ที่เต็มไปด้วยมายาและบริโภคนิยม เขาโหยหาภูมิปัญญาโบราณ โดยเชื่อว่าตำนานกับความจริงเป็นหนึ่งเดียวกัน…พระทิเบต ผู้ตัดสินใจออกจากสภาพความเป็นพระ ด้วยเห็นว่าตัวเองน่าที่จะทำประโยชน์ให้แก่สังคมได้อีกมากมายหลายทาง เขาได้ออกจากดินแดนหลังคาโลกมาที่พื้นที่แถบเส้นศูนย์สูตร สู่เมืองแห่งรอยยิ้ม ด้วยปรีชาญาณและความหวังในโลกสมัยใหม่…อดีตนักวิชการประจำมหาวิทยาลัยชื่อดังแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ ลาออกจากงานหันมาเสาะแสวงหาความสงบ พร้อมกับก่อตั้งมูลนิธิเพื่อเผยแพร่ภูมิปัญญาหิมาลัย สู่พื้นที่เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ และยังได้ติดตามความฝันของตัวเอง ในการเป็นผู้ปฏิบัติธรรมเต็มเวลาที่ยังคงข้องเกี่ยวกับเรื่องราวทางโลก…

ติดตาม “ไดอารี่ ไกรลาศ” เร็วๆนี้ ผู้ใดมีความประสงค์จะสนับสนุนโครงการตัดต่อภาพยนตร์เรื่องนี้ โปรดติดต่อ 1000tara@gmail.com